หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ฌ้อปาอ๋อง


         
       ฌ้อปาอ๋อง หรือ ซีฉู่ป้าหวัง ฌ้อปาอ๋อง มีชื่อเดิมว่า เซี่ยงอวี่ เกิดเมื่อ 232 ปีก่อนคริสตกาล ตรงกับยุคจ้านกว๋อ ที่แคว้นฌ้อ หรือ แคว้นฉู่ (ปัจจุบันครอบคลุมดินแดนของมณฑลหูหนาน, มณฑลหูเป่ย์, ฉงชิ่ง, มณฑลเหอหนาน, มณฑลอานฮุย และบางส่วนของมณฑลเจียงซูและมณฑลเจียงซี) เป็นบุคคลที่ได้รับการกล่าวขานว่ามีพละกำลังมหาศาล สามารถยกกระถางธูปที่มีน้ำหนักนับร้อยกิโลกรัมไว้บนเหนือหัวได้ เกิดในตระกูลขุนศึก ได้รับการเล่าเรียนวิชายุทธและการศึกจาก เซี่ยงเหลียง ผู้เป็นอา ต่อมาเมื่อปลายราชวงศ์ฉิน เกิดกบฏชาวนาและอีกหลายกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน เซี่ยงอวี่ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย และด้วยความสามารถ ทำให้ได้เป็นผู้นำระดับแม่ทัพ และได้ร่วมมือกับหลิวปังในการโจมตีหัวเมืองต่าง ๆ โดยวีรกรรมครั้งสำคัญคือ เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เซี่ยงอวี่นำทัพไปที่เมืองเสียนหยาง เมืองหลวงของราชวงศ์ฉิน ทั้งที่มีกองกำลังน้อยกว่ามากถึง 10 ต่อ 1 หลังจากข้ามแม่น้ำจางเหอไปแล้ว เซี่ยง หวี่ได้สั่งการให้ทหารทั้งหมดที่พกเสบียงอาหารแห้งจำนวนที่จะพอรับประทานได้ 3 วัน และให้ทุบหม้อสำหรับปรุงอาหาร และให้เจาะรูให้เรือที่ข้ามแม่น้ำมาให้รั่วทั้งหมด เพื่อที่จะเอาชนะให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ตายกันหมด ซึ่งวีรกรรมตรงนี้ได้กลายมาเป็นภาษิตในภาษาจีนที่ว่า "ทุบหม้อจมเรือ" อันหมายถึง สิ่งสำคัญที่ตัดสินชะตากรรม




ซึ่งเซี่ยงอวี่ได้รับชัยชนะ แต่ปรากฏเป็นกองทัพของหลิวปังที่ได้เข้าสู่เมืองหลวงก่อน พร้อมกับได้นั่งบัลลังก์ฮ่องเต้ สร้างความไม่พอใจให้แก่เซียงอวี่ ต่อมา เซียงอวี่ได้ประกาศตนเองเป็น ฌ้อปาอ๋อง อันหมายถึง "อ๋องแห่งฌ้อผู้ยิ่งใหญ่" พร้อมกับได้สถาปนาให้หลิวปังมีบรรดาศักดิ์เป็น ฮั่นอ๋อง

ต่อมาเซี่ยงอวี่กับหลิวปังก็แตกแยกกัน ทั้งคู่ทำสงครามแย่งชิงราชบัลลังก์กันนานถึง 4 ปี ที่เรียกกันว่า สงครามฉู่-ฮั่น ในระยะแรก ฌ้อปาอ๋องที่มีกองกำลังมากกว่าได้รับชัยชนะต่อเนื่องกันหลายครั้ง แต่หลิวปังซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากที่ปรึกษาและขุนพลคนสำคัญ คือ เตียวเหลียง เซี่ยวเหอ และ ฮั่นสิน ทำให้ได้เปรียบได้ตอนท้าย และกลายมาเป็นฝ่ายยกกองทัพปิดล้อมกองทัพฌ้อ จนฌ้อปาอ๋องและหยูจี ซึ่งเป็นนางสนมไม่มีทางหนี ขณะที่กำลังถูกปิดล้อมอยู่นั้น กล่าวกันว่าฝ่ายฮั่นได้เล่นเพลงของฌ้อดังไปถึงกองทัพของฌ้อเพื่อข่มขวัญ ทำให้ฌ้อปาอ๋องเกิดมุทะลุบุกขึ้นมาตีฝ่าวงล้อม ซึ่งทำให้ต้องเสียไพร่พลที่เหลือน้อยอยู่แล้วลงไปอีก และตัวเองต้องหนีไปจนมุมที่แม่น้ำไก่เซี่ย (ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลอานฮุย) และฆ่าตัวตายด้วยการเชือดลำคอด้วยดาบในที่สุด จบชีวิตลงเมื่อปี 202 ปีก่อนคริสตกาล ขณะที่มีอายุเพียง 30 ปีเท่านั้น

เรื่องราวของฌ้อปาอ๋องได้รับการเล่าขานสืบต่อกันมาในวัฒนธรรมจีนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่บุคลิกของฌ้อปาอ๋อง จะเป็นไปในลักษณะของ ชายรูปร่างสูงใหญ่ บึกบึน ไว้หนวดไว้เครา อุปนิสัยโหดร้าย เจ้าอารมณ์ และมุทะลุดุดัน เนื่องจากการบุกเมืองเสียนหยาง ฌ้อปาอ๋องได้สั่งเผาและฝังทั้งเป็นทหารฉินถึง 200,000 นาย และต่อมาเมื่อมีอำนาจ ก็เป็นบุคคลเจ้าอารมณ์ไม่ฟังเสียงทัดทานของผู้คนรอบข้าง ผิดกับหลิวปัง ซึ่งใจเย็น สุขุม และมีเมตตากว่า จึงเป็นที่นิยมของราษฎร ขณะเดียวกันชีวิตส่วนตัวของฌ้อปาอ๋องกับนางสนมหยูจี ที่เป็นผู้หญิงที่สวยมาก ที่อยู่เคียงข้างจนวาระสุดท้าย ก็เป็นที่เล่าขานกัน ซึ่งก่อนที่ฌ้อปาอ๋องจะลุกขึ้นมานำทัพบุกฝ่าวงล้อมของกองทัพฮั่นนั้น ได้เข้าไปร่ำลานางหยูจี พร้อมกับตีกลองร้องเพลงที่มีความหมายถึงวาระสุดท้ายของชีวิตตนเอง ซึ่งเรียกว่า "เพลงแห่งไก่เซี่ย" ที่อาจถอดความหมายได้ว่า



“เรี่ยวแรงของข้า มหาศาลดุจขุนเขา

จิตวิญญาณของข้าเคยหล่อเลี้ยงยุคสมัย

ในเวลาอันมืดมิดนี้ แม้แต่ม้าของข้าก็พาข้าหนีไปไม่ได้

แต่ยามนี้สิ่งเหล่านี้จะมีความหมายอันใด

โอ้ หยูจีที่รักของข้า ชะตากรรมเจ้าจะเป็นเช่นใด”


      ครั้งหนึ่ง เล่าปังคุมนักโทษกลุ่มหนึ่งไปช่วยสร้างกำแพงเมือง โดยมีลูกน้องติดตามไปเพียงไม่กี่คน นักโทษเหล่านี้ส่วนใหญ่ต้องโทษขั้นเบา บ้างเป็นชาวบ้านที่ถูกจับเพราะลักเล็กขโมยน้อย บ้างก็หนีทหาร บ้างเป็นบัณฑิตที่มีความคิดเป็นปรปักษ์กับราชสำนัก ระหว่างทางได้ทยอยหลบหนีไปกว่าครึ่ง เกินกำลังของผู้คุมที่จะตามจับเล่าปังรู้แก่ใจว่าเมื่อไปถึงจุดหมายคงเหลืออยู่เพียงไม่กี่คน ตนและลูกน้องย่อมมีความผิดฐานละเลยหน้าที่ และต้องถูกลงโทษย่อมเป็นความผิดร้ายแรง เขาและลูกน้องจึงหนีตามนักโทษกลุ่มหนึ่งขึ้นเขา พลิกผันชีวิตไปเป็นหัวหน้าโจรภูเขาอย่างที่ตัวเองไม่เคยคาดคิดมาก่อน

      ภายหลังรวบรวมสมัครพรรคพวกและทหารฉินที่แปรพักตร์ตั้งเป็นกองทัพร่วมล้มอาณาจักรฉินในสังกัดของฉู่หวยอ๋องแห่งแคว้นฉู่ โดยได้สหายมากฝีมือและปัญญาอย่างจางเหลียง มาเป็นกุนซือผู้บัญชาการรบ เซียวเหอ มาช่วยด้านบริหารการจัดการ และได้แม่ทัพฝีมือดีอย่างหานซิ่น เฉินผิง เผิงเย่ว์ มาร่วมกลุ่ม หลังจากนั้นเล่าปังก็เป็นเสมือนพยัคฆ์ติดปีก มีกองทัพที่ทรงประสิทธิภาพอยู่ในมือ



ชีวิตพลิกผัน เพราะนิสัยต่างกันราวฟ้าดิน

209 ปีก่อนคริสตกาล ปลายราชวงศ์ฉิน เจ้าเมืองไคว่จี คิดแยกตัวออกจากอาณาจักรฉิน จึงหารือเซี่ยงเหลียงกับเซี่ยงอวี่สองแม่ทัพแห่งแคว้นฉู่ แต่ทั้งสองกลับสังหารเจ้ามืองยึดกำลังทหารมาเป็นของตน ทัพฉินและทัพฉู่เปิดศึกกันหลายครั้งเชี่ยงเหลียงเสียชีวิตในสนามรบ สองปีต่อมาเซี่ยงอวี่ได้เป็นแม่ทัพใหญ่แห่งแคว้นฉู่ ยกทัพบุกเมืองจวี้ลู่ ของอาณาจักรฉินและเป็นฝ่ายชนะศึกจนเป็นที่เกรงขามของเหล่าขุนต่างแว่นแคว้น

206 ปีก่อนคริสตกาล อ๋องแคว้นฉู่มีบัญชาให้ยกทัพบุกอาณาจักรฉิน เซี่ยงอวี่และเล่าปังยกทัพแยกเป็นสองสายโจมตีดินแดนของฉินพร้อมกองทัพอื่นๆ ทัพของเซี่ยงอวี่บุกจากทางตะวันออกประจัญบานกับทัพหลวงของฉิน ส่วนกองทัพเล่าปังรุกจากทางตะวันตก เส้นทางที่ยาวไกลกว่าและต้องเผชิญกับทัพหลวงที่แข็งแกร่ง ทำให้กองทัพของเซี่ยงอวี่รุกคืบได้ช้ากว่าทัพของเล่าปัง

เมื่อกองทัพเล่าปังยึดเมืองเสียนหยาง ราชธานีของอาณาจักรฉินได้สำเร็จ ก็จับจื่ออิง ซึ่งนั่งบัลลังก์ฮ่องเต้ฉินได้เพียง 46 วันขังไว้ ราวหนึ่งเดือนต่อมา เซี่ยงอวี่บุกถึงเมืองเสียนหยางพร้อมกำลังพลสี่แสนนาย ขณะนั้นเล่าปังมีทหารเพียงแสนกว่านายจึงหลีกทางให้เซี่ยงอวี่เป็นผู้นำ โดยเลี้ยงรับรองเซี่ยงอวี่ที่หงเหมิน ( ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านหนึ่งในนครซีอาน ) นอกเมืองเสียนหยาง เพื่อแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน ฟ่านเจิง กุนซือข้างกายที่เซี่ยงอวี่เคารพนับถือเสมือน บิดาบุญธรรม อ่านความในใจของเล่าปังได้ทะลุปรุโปร่ง จึงกำชับเซี่ยงอวี่ให้ฉวยโอกาสระหว่างที่เลี้ยงรับรองสังหารเล่าปังเสียเพื่อตัดไฟแต่ต้นลมทว่าเซี่ยงอวี่กลับไม่ใส่ใจและมองไม่ออกว่าเล่าปังจะเป็นหอกข้างแคร่ในภายภาคหน้า



เมื่อเซี่ยงอวี่เคลื่อนทัพเข้าเมืองเสียนหยางก็สั่งประหารจื่ออิงและเผาทำลายเมืองโดยไม่ฟังคำทัดทาน แต่งตั้งเล่าปังให้เป็นฮั่นอ๋อง เหมือนแม่ทัพนายกองอื่นๆ ที่ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น อ๋อง จากนั้นได้กำจัดอ๋องแห่งแคว้นฉู่คนเดิมคือฉู่หวยอ๋อง แล้วปราบดาภิเษกตนขึ้นเป็น ฌ้อปาอ๋อง ” (เดชาธิราชแห่งแคว้นฉู่) และเคลื่อนทัพกลับเผิงเฉิน ตั้งอยู่ที่มณฑลเจียงซูในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นฐานกำลังเดิมของตน โดยไม่ยึดดินแดนกวนจง (มณฑลส่านซีในปัจจุบัน ) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญไว้เป็นฐานที่มั่น แม้ว่าฟ่านเจินจะเตือนสติหลายครั้งเพื่อชี้ให้เห็นว่า หากต้องการปกครองแผ่นดินเป็นจักรพรรดิ การยึดครองกวนจงสำคัญยิ่งนัก

เพียงไม่กี่เดือนต่อมา เล่าปังก็ยกทัพยึดครองกวนจง เพราะเซี่ยงอวี่ซึ่งอยู่ไกลออกไปทางตะวันออกไม่สามารถยกทัพมาต้านเต็มกำลัง






ซึ่งเรื่องราวของฌ้อปาอ๋อง ได้บันทึกไว้ในวรรณคดีเรื่องสำคัญแห่งการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น คือ ไซฮั่น และในยุคปัจจุบันได้กลายเป็นตัวละครสำคัญในวัฒนธรรมร่วมสมัยมากมาย เช่น ภาพยนตร์เรื่อง The Great Conqueror's Concubine ในปี ค.ศ. 1993 นักแสดงผู้ที่รับบทฌ้อปาอ๋อง คือ หลี่ เหลียงเหว่ย หรือ ละครโทรทัศน์ทุนสร้างสูงในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งผู้รับบทนี้ คือ เหอ ยุ่นตง หรือ อ้างอิงถึงในภาพยนตร์เรื่อง Farewell My Concubine ในปี ค.ศ. 1993 ที่ชื่อในภาษาจีน คือ 霸王別姬 ซึ่งถอดความหมายได้ว่า "ซีฉูปาอ๋องลานางสนม" ซึ่งเป็นบทในการแสดงอุปรากร หรือภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2011 เรื่อง White Vengeance หรือแม้แต่ดัดแปลงเป็นตัวละครในเกมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น



ที่มา (เนื้อหา+รูปภาพ)
https://th.wikipedia.org/wiki/ฌ้อปาอ๋อง
https://www.cpall.co.th/Blog/Writer/Korsak/3
http://www.komkid.com/ประวัติศาสตร์สังคม/ฌ้อปาอ๋อง-xiang-yu


 สำหรับผู้เขียน
สวัสดีครับ ชื่อเบียร์นะครับ นี่เป็นบล็อกแรกของผม ติดชมได้นะครับ ผิดพลาดตรงไหนจะกลับไปแก้ทันทีเลยครับ ^^
YODCHAKAN001